บทความ "ความสัมพันธ์ของการให้อาหารทารกและเด็กเล็กกับการเติบโตด้านส่วนสูงของเด็ก"

ข้อปฏิบัติการให้อาหารเพื่อสุขภาพที่ดีของทารกและเด็กเล็กของประเทศไทยแนะนำให้นมแม่อย่างเดียวตั้งแต่แรกเกิดถึง 6 เดือนโดยไม่ต้องให้อาหารอื่นแม้แต่น้ำ เริ่มให้อาหารตามวัย (complementary foods) เมื่ออายุ 6 เดือนควบคู่ไปกับนมแม่ ถ้าการเจริญเติบโตมีแนวโน้มลดลงหรือไม่สามารถให้นมแม่ได้อย่างเต็มที่อาจเริ่มให้อาหารตามวัยก่อน 6 เดือนได้แต่ไม่ก่อนอายุครบ 4 เดือน เพิ่มจำนวนมื้ออาหารตามวัยที่มีคุณภาพและครบ 5 หมู่จนครบ 3 มื้อเมื่อเด็กอายุ 10-12 เดือน เมื่อเด็กอายุ 1 ปีขึ้นไป ควรให้อาหารมื้อหลัก 3 มื้อและอาหารว่างไม่เกิน 2 มื้อต่อวัน โดยให้อาหารครบ 5 หมู่ แต่ละหมู่ให้หลากหลายเป็นประจำทุกวัน ให้นมแม่ต่อเนื่องถึงอายุ 2 ปี และเสริมนมครบส่วนรสจืดวันละ 2-3 แก้ว (1) สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุขแนะนำให้เสริมยาเม็ดไอโอดีนเหล็กและกรดโฟลิกให้กับมารดาที่กำลังให้นมลูก (2) และเสริมยาน้ำธาตุเหล็กแก่ทารกอายุ 6 เดือนขึ้นไป เพื่อป้องกันการขาดธาตุไอโอดีนและเหล็ก ซึ่งยังเป็นสารอาหารที่พบขาดได้บ่อยในประเทศไทย (3) ทารกและเด็กเล็กที่ได้รับอาหารตามคำแนะนำข้างต้นจากมารดาที่มีโภชนาการดีและมีความรู้ในการให้อาหารตามวัยที่ถูกหลักโภชนาการ ควรเติบโตได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานการเจริญเติบโตขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. 2006 (4) ซึ่งเป็นบรรทัดฐานการเจริญเติบโตของเด็กที่พึงประสงค์...

เชิญ download บทความเต็ม ในรูป pdf ได้ที่นี่