สุขภาพเด็ก

ปัญหาการให้อาหาร (เสริม) ในเด็ก

ปัญหาการให้อาหารในการเลี้ยงดูทารกและเด็ก มักเป็นเรื่องที่ผู้ปกครองส่วนมากให้ความสนใจอยู่เสมอ คำถามต่างๆที่นำมาเขียนในบทความนี้ส่วนหนึ่งมาจากคำถามที่ผู้ปกครองถามใน www.childrenhospital.go.th ซึ่งเป็น website ของสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี และจากประสบการณ์ของกุมารแพทย์ในเวชปฏิบัติ การรับทราบข้อมูลที่ถูกต้องมีความจำเป็นและสำคัญต่อการตอบคำถาม จึงพยายามค้นหาข้อมูลจากคำถามดังกล่าว เพื่อเป็นฐานข้อมูลสำหรับกุมารแพทย์และบุคลากรทางสาธารณสุขนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อไป การให้คำแนะนำที่ถูกต้องแก่ผู้ปกครอง มีความสำคัญต่อการดูแลทารกและเด็กอย่างเหมาะสม เพื่อให้เด็กไทยมีการเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย รวมทั้งการมีภาวะโภชนาการที่ปกติและมีสุขภาพที่ดี คำถามที่ผู้ปกครองมักถามในเรื่องของอาหารที่จะให้เด็ก มีดังต่อไปนี้

โรคอ้วนในเด็ก : การป้องกันและรักษา

โรคอ้วนในเด็กเป็นปัญหาที่สำคัญของโลกเนื่องจากมีความชุกทั่วโลกเพิ่มขึ้น 3 เท่าภายในระยะ 20-30 ปีที่ผ่านมาทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศที่กำลังพัฒนา1 สำหรับประเทศไทยจากการสำรวจพบว่าเด็กก่อนวัยเรียนเป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในปี พ.ศ. 2539-2540 เป็นร้อยละ 7.9 ในปี พ.ศ. 2544 ซึ่งเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 36 ในขณะที่เด็กวัยเรียนอายุ 6-13 ปี เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 5.8 ในปี พ.ศ. 2539-2540 เป็นร้อยละ 6.7 ในปี พ.ศ. 2544 หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.5 ในระยะเวลา 5 ปี2 จากการศึกษาของ National Health and Nutrition Examination Survey (NHANES III) ประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าร้อยละ 10-20 ของทารกที่อ้วนจะยังคงอ้วนในวัยเด็ก ร้อยละ 40 ของเด็กอ้วนจะยังคงอ้วนในวัยรุ่นและร้อยละ 75-80 ของวัยรุ่นที่อ้วนจะยังคงอ้วนเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่3 มีโอกาสเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน นิ่วในถุงน้ำดี และมะเร็งบางชนิด4 และมีอัตราตายด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคหลอดเลือดสมองมากกว่าประชากรทั่วไป5-7 จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องเริ่มดำเนินการป้องกันและรักษาโรคอ้วนตั้งแต่วัยเด็กเพื่อมิให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่อ้วนและลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคและอัตราตายของโรคดังกล่าว

ขนมกับสุขภาพเด็ก

สถานการณ์การบริโภคขนมในเด็กไทย

วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการสารอาหารในปริมาณสูง เมื่อเทียบกับขนาดของร่างกายแล้วกระเพาะอาหารมีขนาดเล็ก การรับประทานอาหารเพียง 3 มื้อหลัก ไม่สามารถทำให้เด็กได้รับสารอาหารในปริมาณที่ร่างกายต้องการเพื่อการเจริญเติบโต นอกจากนี้ขนมและอาหารว่าง จะช่วยเสริมความสุขในชีวิตประจำวันของเด็กด้วย แต่หากรับประทานขนมและอาหารว่างมากเกินไป โดยเฉพาะชนิดที่ไม่มีประโยชน์หรือมีประโยชน์น้อยก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้